ยักษ์วัดโพธิ์ ใช่ “ลั่นถัน” ตุ๊กตาจีนตัวใหญ่หรือไม่

ยักษ์วัดโพธิ์ ในตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ ยักษ์วัดแจ้ง ซึ่งฝ่ายหลังคือทศกัณฐ์และสหัสเดชะ ที่ยืนประจำการอยู่ที่ซุ้มประตูยอดมงกุฎหน้าพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) แต่ยักษ์วัดโพธิ์ตัวจริงอยู่ที่ไหน ใช่ “ลั่นถัน” ตุ๊กตาจีนตัวใหญ่ที่อยู่ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) หรือไม่?

วัดโพธิ์ จุดกำเนิดของยักษ์วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญบนเกาะรัตนโกสินทร์ มีอายุตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. 2231-2246 เป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้นโดยไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้สร้าง เดิมชื่อวัดโพธาราม ชาวบ้านจึงเรียกติดปากว่าวัดโพธิ์

ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีการบูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ 2 ครั้ง ครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน และอีกครั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวนี้ใช้เวลายาวนาน 16 ปี 7 เดือน

นอกจากวิหารพระนอน พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล วัดโพธิ์ยังมีตำรับตำราการแพทย์ วรรณคดี องค์ความรู้ต่าง ๆ จนได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ รวมทั้งมียักษ์วัดโพธิ์ ที่หลายคนอาจสงสัยว่าอยู่ตรงไหน?

ตามตำนาน ยักษ์วัดโพธิ์เป็นเพื่อนกับยักษ์วัดแจ้ง วันหนึ่งยักษ์วัดโพธิ์ข้ามฝั่งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้ง แต่เมื่อยืมแล้วกลับไม่คืนเสียที ยักษ์วัดแจ้งจึงโมโห ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันจนต้นไม้ล้มระเนระนาด พื้นที่ตรงนั้นเสียหายราบเป็นหน้ากลอง เป็นที่มาของชื่อ “ท่าเตียน”

เมื่อพระอิศวรทรงทราบเหตุวิวาทที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย จึงลงโทษยักษ์ทั้งสองฝ่ายให้กลายเป็นหิน ยักษ์วัดโพธิ์เฝ้าพระอุโบสถ ส่วนยักษ์วัดแจ้งเฝ้าพระวิหาร นับแต่นั้นยักษ์ทั้งสองฝั่งก็ไม่ทะเลาะกันอีกเลย

กลอนตำนานท่าเตียนกับ

  ยักษ์วัดโพธิ์อวดโตยืนจังก้า

ขู่ตะคอกบอกว่าอย่าลวนราม

ข้านั้นหรือคือมือเก่าเฝ้าวัดนี้

อันทรัพย์สินไม่เคยหายในเวลา

เป็นเรื่องจริงใช้คุยคุ้ยเอาเรื่อง

ยักษ์วัดแจ้งคอยระแวงแกล้งชิงชัง

เราก็ชายชาติยักษ์รักถิ่นฐาน

สงครามขั้นพันตูดูไม่เบา

สู้กันได้หลายตั้งยังไม่แพ้

กระแสชลวนแหวกกระแทกกัน

แสนสงสารชาวท่าหน้าตลาด

บ้างบนบานศาลกล่าวเจ้าโลกา

ครั้นเมื่อยักษ์เลิกรบสงบศึก

จะยลหน้าไปมองแห่งหนใด

ตั้งแต่นั้นจึงพากันขนาน

ว่า “ท่าเตียน” เปลี่ยนให้ด้วยใจจง

ทำยักท่านักเลงให้เกรงขาม

ใครยุ่มย่ามเป็นไม่ไว้ชีวา

มาหลายปีดีดักนานนักหนา

พระท่านมาอยู่ด้วยช่วยระวัง

เคยขุ่นเคืองมาก่อนกลับย้อนหลัง

เหาะข้ามฝั่งมาราวีถึงที่เรา

ใครรุกรานต้องขย้ำซ้ำให้เน่า

พองต่อพองจ้องเข้าประหัตถ์กัน

บ้านเรือนแพริ่มฝั่งพังสะบั้น

ดังสะนั่นลั่นรัวทั่วพารา

ต้องอนาถอกหักเพราะยักษา

เชิญท่านมาอยู่ด้วยช่วยกันภัย

ใจระทึกหม่นหมองนั่งร้องไห้

ดูไม่ได้มีแต่เหี้ยนเตียนราบลง

นามเรียกขานกันใหม่ไม่ใหลหลง

ชื่อยังคงมีอยู่มิรู้ลืม

ส่วนยักษ์วัดโพธิ์ที่ไม่ใช่ตำนาน เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัด พระองค์ทรงให้ช่างหล่อรูปยักษ์ ความสูงประมาณ 175 เซนติเมตร จำนวน 8 ตน มีหลักฐานปรากฏในสำเนาจารึกแผ่นศิลาว่าด้วยการปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์สมัยรัชกาลที่ 3 ว่า “แลกำแพงนั้นประกอบด้วยสิลาเขียวแผ่นใหญ่มีประตูซุ้มสามยอดไว้รูปอสูรหล่อด้วยสังกะสีผสมดีบุกสูงสามศอกคืบยืนกุมตระบองอยู่ในช่องซุ้มสองข้างประตูละสองรูปเหมือนกันทั้งสี่ประตูสี่ด้านเป็นรูปอสูรแปดรูป”

ยักษ์วัดโพธิ์ทั้ง 8 ตน อยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าหอไตรจตุรมุข (พระมณฑป) 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่ ได้แก่

ทศกัณฐ์กับสหัสเดชะ อยู่ประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

อินทรชิตกับสุริยภพ อยู่ประตูทิศตะวันออกเฉียงใต้

พญาขรกับสัทธาสูร อยู่ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

มัยราพณ์กับแสงอาทิตย์ อยู่ประตูทิศตะวันตกเฉียงใต้

เมื่อทำระเบียงพระมหาเจดีย์ในรัชกาลที่ 4 มีการรื้อซุ้มประตูออก 2 ด้าน คือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันจึงหลงเหลือ “ยักษ์วัดโพธิ์” ให้ดู 2 คู่ คือ พญาขร (ผิวกายสีเขียว) กับ สัทธาสูร (ผิวกายสีหงเสน คือสีแดงเสนผสมสีขาว) และ มัยราพณ์ (ผิวกายสีม่วงอ่อน) กับ แสงอาทิตย์ (ผิวกายสีแดงชาด)

ตนสีเหลืองนี้ชื่อ “สัทธาสูร” เจ้าเมืองอัสดงค์ ผิวกายสีหงเสน สวมมงกุฎจีบ ปากขบ ตาจระเข้ เป็นยักษ์ที่ทศกัณฐ์เชิญมาเป็นพันธมิตรเพื่อทำศึกสู้กับพระราม สัทธาสูรได้เวทพระพรหม สามารถเรียกอาวุธจากเทวดามาใช้สู้รบได้

สีเขียวตนนี้ชื่อ “พญาขร” เจ้ากรุงโรมคัล ผิวกายสีเขียว สวมมงกุฎจีบ ปากขบ ตาจระเข้ โอรสองค์ที่สี่ของท้าวลัสเตียนกับนางรัชฎา เป็นอนุชาของทศกัณฐ์ ชายาชื่อรัชฎาสูร มีโอรสชื่อมงกรกัณฐ์และแสงอาทิตย์ อาวุธวิเศษคือศรจักรพาลพัง

ไมยราพ” ผิวกายม่วงอ่อน สวมมงกุฎกระหนกหรือมงกุฏหางไก่ ปากขบ ตาจระเข้ โอรสท้าวมหายมยักษ์เจ้ากรุงบาดาลกับนางจันทรประภา มีกล้องปัทมราชเป็นอาวุธวิเศษประจำกาย และมีฤทธานุภาพเรื่องเวทมนตร์ที่ใช้สะกดทัพ อีกทั้งถอดดวงจิตไว้ที่เขาตรีกูฏ
แสงอาทิตย์” ผิวกายสีแดงชาด ทรงมงกุฎกระหนก ปากขบ ตาจระเข้ โอรสพญาขรแห่งกรุงโรมคัลกับนางรัชฎาสูร น้องชายมังกรกัณฐ์ มีอาวุธประจำกายคือ แว่นสุรกานต์ มีฤทธานุภาพร้ายแรง ถ้าส่องไปที่ใดจะบังเกิดไฟเผาผลาญจนหมดสิ้น แสงอาทิตย์ฝากแว่นไว้ที่พระพรหม เมื่อต้องการใช้จึงให้พี่เลี้ยงชื่อวิจิตรไพรีไปทูลขอยืมลงมา

หมดข้อคลางแคลงใจกันเสียที่ เกี่ยวกับ ยักษ์ใหญ่(ตัวสีเขียวกับสีขาว) ที่เราและใครหลายคนคิดว่าเป็นยักษ์วัดโพธิ์นั้น ไม่ใช่ค่ะ ! แท้จริงแล้วเป็นยักษ์วัดแจ้ง 2 ตน ยืนตระหง่านนามว่า ทศกัณฐ์และ สหัสเดชะ …ส่วนยักษ์เล็ก เป็นยักษ์ 4 ตนยืนเฝ้าประตูพระมณฑปอยู่ในตู้กระจกที่วัดโพธิ์ ส่วนตุ๊กตาที่เราเห็นอยู่ตามประตูทางเข้า ตัวโตๆ นั้น คือ ตุ๊กตาจีนรูปต่างๆ ที่นำมาตกแต่งกับศาสนสถานของวัดให้ดูสวยงามอย่างเป็นระเบียบ

ลั่นถัน ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นยักษ์วัดโพธิ์

อาจารย์คึกฤทธิ์ กับจิตร ภูมิศักดิ์ วินิจฉัย “ใครคือขอม”?

อ่านต่อ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed