ธกส.เพชรบูรณ์ นำสื่อมวลชนและผู้ประกอบการเพชรบูรณ์ ร่วมงานแถลงผลการดำเนินงาน และจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดออนไลน์ “Farm me market”
วันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2567 นายจินตกร เรืองเสน ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยนายสุริยัน คำภาแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัดเพชรบูรณ์นำสื่อมวลชนและผู้ประกอบการจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยนายไชยยงค์ ไชยปัน หัวหน้าฝ่ายรายการ สวท.เพชรบูรณ์ นายวิริทธิิ์พล หิรัญรัตน์ นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์จังหวัดเพชรบูรณ์ นางศรีนวล กัลยาประสิทธิ์ ผลิตภัณท์ขิงหยองหล่มเก่า ร่วมกิจกรรม ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการภาคเหนือตอนล่าง แถลงผลการดำเนินงาน และจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดออนไลน์ “Farm me market” โดยมีสื่อมวลชน 9 จังหวัด พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ ตาก นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สุโขทัย และอุทัยธานี โดยร่วมกันทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี และชมโบสถ์รากไม้ที่วัดถ้ำเขาประทุน ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีพระอุโบสถที่สวยงามตระการตาที่ใช้รากไม้ตะเคียนทอง ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ รากไม้กันเกรา มาตกแต่ง แกะสลักอย่างสวยงาม จากนั้นได้พาคณะสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมป่าครอบครัวและฟังบรรยายการจัดการป่าครอบครัวโดยใช้ BCG MODEL จาก ดร.มด นายศิริพงษ์ โทหนองตอ ที่ศูนย์ถ่ายทอดนวัตกรรมป่าครอบครัวแพนด้าแคมป์ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี โดยมุ่งเน้นให้ครัวเรือนปลูกพืชกินได้ มีไม้เป็นยา เป็นป่าครอบครัวที่ยั่งยืน และสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับครัวเรือนและยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่วนในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567ที่ห้องประชุม ห้วยป่าปก รีสอร์ท อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี นายภูมิ เกลียวศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง นำฝ่ายบริหาร ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง (ฝนล.) จัดให้มีการแถลงผลงาน 3 ไตรมาส ของปีบัญชี 2566 พร้อมการขับเคลื่อนนโยบายรัฐในการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ฝนล. รายงานผลงาน 3 ไตรมาสแรกปีบัญชี 2566 จ่ายสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคชนบทระหว่างปีไปแล้วกว่า 66,103.46 ล้านบาท ควบคู่การสนับสนุนนโยบายรัฐในการรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร การลดภาระหนี้เกษตรกร ผ่านโครงการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน พร้อมเดินหน้าภารกิจองค์กรสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร ที่ให้บริการทางการเงินและการเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการต่อ ยอดธุรกิจภาคการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การทำการตลาด การพัฒนาและยกระดับชุมชนในการสร้างรายได้และการดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้หลัก BCG คาดไตรมาสสุดท้ายเติบโตได้ ตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ นายภูมิ เกลียวศิริกุล ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง เปิดเผยผลการ ดำเนินงาน 3 ไตรมาสแรกของปีบัญชี 2566 (1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2566) ว่า ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้น และพัฒนาเศรษฐกิจในภาคชนบทระหว่างปีไปแล้วจำนวน 66,103.46 ล้านบาท โดยมียอดสินเชื่อคงค้าง จำนวน 227,002 ล้านบาท เติบโตจากต้นปีบัญชี จำนวน 4,222 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 101.84% ของเป้าหมาย (4,146 ลบ.) ยอดเงินฝากสะสม 167,345 ล้านบาท ในปีบัญชี 2566 ธ.ก.ส. มุ่งเน้นการขับเคลื่อนภารกิจสู่การเป็นแกนกลางการเกษตร (Essence of Agriculture) ที่มุ่งยกระดับเกษตรกรในทุกมิติผ่านโครงการ D&MBA (Design and Management By Area) โดยร่วมมือกับ พันธมิตรและเครือข่ายในการให้ความรู้เพื่อเสริมศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเกษตรกร การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาสู่การทำการเกษตรสมัยใหม่ หรือเกษตรอัจฉริยะ ที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่ม ประสิทธิภาพในการผลิต การสนับสนุนเกษตรกรหัวขบวนในพื้นที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจชุมชน ตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ การสร้างการเติบโตใหม่ในกลุ่ม Smart Farmer Agri-Tech และ Startup ในการต่อยอดธุรกิจเกษตร และสร้างความหลากหลายในตัวผลิตภัณฑ์ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด การยกระดับสินค้าสู่มาตรฐาน ทั้งการผลิต การดีไซน์ เพื่อสร้าง Value Added ไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง รวมถึงการดึงคนรุ่นใหม่กลับมาต่อยอดและสานต่อธุรกิจ ของครอบครัว เช่น การสนับสนุนรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร Agro-Tourism การเชื่อมโยงธุรกิจเกษตรและจับคู่ ตลาด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และนำไปสู่การจัดการและแก้ไขปัญหาหนี้สินในชุมชน โดย สามารถพัฒนาลูกค้าและชุมชนไปแล้ว 900 ราย (จากเป้าหมาย 900 ราย) การพัฒนาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้หลัก BCG ซึ่งมีชุมชนเข้าร่วมโครงการแล้ว 21 ชุมชน และการพัฒนาความรู้ด้านการเงินและดิจิทัล โดยส่งเสริม องค์ความรู้ให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายไปแล้วจำนวน 24,713 ราย นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหนี้สินและการฟื้นฟูอาชีพ เพื่อช่วยให้พี่น้องเกษตรกรมี โอกาสในการลดภาระหนี้สิน มีรายได้ที่มั่นคง สามารถก้าวพ้นกับดักหนี้ได้อย่างยั่งยืน เช่น มาตรการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและรายได้ในกลุ่มหนี้ที่มีปัญหา โดยใช้ฐานข้อมูลและเทคโนโลยีในการวิเคราะห์ข้อมูล การ จัดกลุ่มลูกค้า การพัฒนาเครื่องมือและช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น เช่น การชำระหนี้ ผ่านแอปพลิเคชัน BAAC Mobile และ Banking Agent เป็นต้น มาตรการจ่ายดอก ตัดต้น เมื่อลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งการตัดชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยในสัดส่วน 50 : 50 ซึ่งจะทำให้ลูกค้าลดภาระหนี้ได้เร็วยิ่งขึ้น โดยมี ต้นเงินที่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 42,281 ล้านบาท มาตรการจ่ายต้น ปรับงวด โดยธนาคารจะปรับตารางชำระหนี้ใหม่ ให้สอดคล้องกับรายได้และศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกค้า โดยมีลูกค้าเข้าร่วมมาตรการแล้วกว่า 5,704 สัญญาต้น เงินที่ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 1,736 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชำระหนี้ผ่าน โครงการชำระดีมีโชค โดยจูงใจให้ลูกค้าชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา ซึ่งดอกเบี้ยและเงินต้นที่ชำระจริงทุก ๆ 1,000 บาท จะมอบเป็นสิทธิประโยชน์ในการชิงโชค 2 ชั้น ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ จำนวน 48,119 รางวัล มูลค่า รวมถึง 479 ล้านบาท โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567 จับรางวัลรวม 4 ครั้ง การให้คำปรึกษาด้าน การบริหารจัดการทั้งหนี้ในและนอกระบบ โดยเฉพาะการบริหารจัดการหนี้ทั้งระบบ เพื่อลดปัญหาหนี้เสียและสร้าง ภูมิคุ้มกันให้กับลูกค้า ทำให้การเป็นหนี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปผ่านโครงการหนี้นอกบอก ธ.ก.ส. ในส่วนของ ธ.ก.ส. ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กร ให้สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วและตลอดเวลา อาทิ การปรับปรุงกระบวนการทำงานแบบ Agile-working การใช้เทคโนโลยีและฐานข้อมูลมาใช้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกค้า การเติมความรู้และทักษะให้กับพนักงาน และการใช้จุดแข็งขององค์กรคือ “คนของเรารัก ลูกค้า” ในการเข้าถึงและเข้าใจลูกค้า เพื่อสนับสนุนและต่อยอดการผลิตสินค้าเกษตรของลูกค้าให้มีมาตรฐานตรงกับ ความต้องการของตลาด รวมถึงการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ไปสู่เกษตรมูลค่าสูง ด้านภารกิจตามนโยบายรัฐบาล ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ได้ดำเนินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิต เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/2567 โดยจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงไปแล้ว 7,906 ล้านบาท เกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 558,450 ราย มาตรการในการพักชำระหนี้เกษตรกรรายย่อย ที่มีหนี้รวมต้นเงินคงค้าง ทุกสัญญา ณ 30 กันยายน 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท โดยปัจจุบันมีลูกค้าแจ้งความประสงค์สอบทานสิทธิ์เข้าร่วมแล้ว กว่า 221,223 ราย นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการช่วยเหลือสนับสนุนผ่านระบบสินเชื่อ ธ.ก.ส. ได้แก่ 1) สินเชื่อเพื่อ พัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 6,500 ล้านบาท 2) สินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/2567 จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 795.65 ล้านบาท 3) สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี การผลิต 2566/67 จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 2,210 ล้านบาท และ 4) สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือและรองรับลูกหนี้นอกระบบของ รัฐบาล รายละไม่เกิน 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน (Flat Rate) ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 6 งวด แรก (ชำระดอกเบี้ยปกติ)
นายภูมิ เกลียวศิริกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีบัญชี 2566 (1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567) ธ.ก.ส. ยังมุ่งดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ทั้งด้านผลิตภัณฑ์และบริการ เช่น การส่งเสริม ให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและบริการทางการเงินที่ทันสมัยอย่างครบวงจรด้วยต้นทุนที่ต่ำและรวดเร็ว โดย นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานในการให้บริการลูกค้า เช่น การพัฒนา Mobile Application และ Self Service Machine เป็นต้น ด้านการพัฒนาลูกค้า สนับสนุนเกษตรกรในการวางแผนบริหารจัดการการผลิตให้ สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคในตลาด เพิ่มช่องทางการตลาดให้กับลูกค้าทั้ง รูปแบบ Offline และ Online โดยผ่าน Platform Farm Me Market ทำให้เกษตรกรสามารถกำหนดราคาสินค้าได้อย่างเหมาะสม และ ป้องกันราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และการสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเกษตรกร ผ่านความ ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเครือข่ายในรูปแบบ 1U1C (1 University 1 Community) เพื่อพัฒนามาตรฐานในการ ผลิตสินค้าเกษตร เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการใช้นวัตกรรม การแปรรูปและ การดีไซน์ ควบคู่กับการส่งเสริมวินัยทางการเงินอย่างเป็นระบบด้วยการเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรเกษียณอายุอย่างมี คุณภาพ ผ่านการสร้างกองทุนเงินเกษียณอายุ (Pension Fund) เป็นต้น นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ได้ยกระดับชุมชนที่ดำเนิน โครงการธนาคารต้นไม้ ต่อยอดไปสู่ชุมชนไม้มีค่า เป้าประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน จากการปลูกต้นไม้ และต่อ ยอดไปสู่การจำหน่ายคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้เต็มรูปแบบผ่านโครงการ BAAC Carbon Credit อย่างเป็นทางการ