(มีสัมภาษณ์)กูรูมะขามหวาน แนะการพัฒนาปลูกมะขามหวานควรมีสมาคม/องค์กรช่วยเติมเต็มความรู้ และดูแลเกษตรกร ฝันอยากเห็นเกิดหลักสูตรท้องถิ่นสอนเด็กๆ
จากการที่จังหวัดเพชรบูรณ์จัดงานมะขามหวานนครบาลเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 27 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2566 ที่่่่่่่่ผ่านมา นายเทพ เพียมะลัง นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญมะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์ได้กล่าวว่าในฐานะที่ตนเองเป็นคณะกรรมการตัดสินมะขามหวานและสุดยอดมะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์มาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคลุกคลีอยู่กับเกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวานได้พูดคุยกับหลายฝ่ายมองเห็นว่าจังหวัดเพชรบูรณ์ควรที่จะมีองค์กรสมาคมที่จะเข้ามาช่วยเหลือดูแลเกษตรกรผู้ปลูกมะขามหวานโดยอยากให้เจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการมะขามหวานตัวแทนเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องกับมะขามหวานต้องหาโอกาสมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนและหาทางออกร่วมกันว่าอนาคตของมะขามหวานจะอยู่ได้อย่างไร ควรมีรูปแบบการส่งเสริมสนับสนุ การขับเคลื่อนมะขามหวานที่่่่่ช่วยทำให้เกษตรกรทั้งเก่าและใหม่ได้มีการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน เช่น การทำงานวิจัยการพัฒนาสายพันธุ์ให้เกิดสายพันธุ์ใหม่และมีคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งอาจจะมีเรื่องของเงินกองทุน ในพัฒนารูปแบบของการปลูกลักษณะของการปลูกการช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงที่เกิดภัยพิบัติช่องทางการตลาดใหม่ๆและการแปรรูปที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมะขามหวานเพชรบูรณ์ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ควรจะต้องให้มีและมองไว้อนาคตอาจจะเป็นไปได้ที่จะเกิดสมาคม/องค์กร/ชมรมที่เข้ามาดูแลผู้ปลูกมะขามหวานตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำดังนั้นจึงอยากจะขอเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมระดมความคิดเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนให้มะขามหวานยังคงอยู่เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ต่อไป
นอกจากนี้ อาจารย์เทพ เพียมะลัง กล่าวต่อว่าอยากจะเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์เกี่ยวกับอยากจะให้นักเรียนในจังหวัดคนเพชรบูรณ์ได้มีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับมะขามหวานทั้งนี้ จ.เพชรบูรณ์มีคำขวัญว่าเมืองมะขามหวาน จึงอยากที่จะให้นำเอาเรื่องวิถีชีวิตของคนทำมะขามไปเขียนเป็นหลักสูตรการสอนในโรงเรียนมัธยมหรือโรงเรียนขยายโอกาส เพื่อเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้กับโรงเรียนได้จัดการสอนอันดับแรกคืออยากให้ครูทุกคนที่สอนอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ได้รู้จักมะขามหวานในจังหวัดเพชรบูรณ์ก่อนว่าลักษณะของภูมิประเทศลักษณะภูมินิเวศของแต่ละสายพันธุ์เป็นอย่างไร ลักษณะเด่นเป็นอย่างไร อยากให้ครูเรียนรู้แล้วช่วยกันพัฒนาเพื่อจะให้นำไปบรรจุในรายวิชาเพิ่มเติมที่เรียกกันว่ารายวิชาท้องถิ่นเพื่อเป็นการจัดการเรียนให้กับนักเรียนตั้งแต่ม.1-ม.6ทั้งนี้สิ่งที่ได้จากการเปิดหลักสูตรท้องถิ่นอยากจะบอกว่ามะขามหวานยังเป็นพืชที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถลงทุนน้อยให้ผลผลิตสูงและเป็นอาชีพในอนาคตที่ดีให้กับพี่น้องชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ เพราะว่าพื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์มีความเหมาะสมที่สุดในโลก ในการปลูกมะขามหวาน ซึ่งถ้าเราถ่ายทอดให้กับเด็กๆ เด็กเหล่านี้อาจจะกลับมาทำการเกษตร โดยที่ไม่ได้รับราชการหรือทำงานอื่นก็เป็นช่องทางในการประกอบอาชีพ โดยใช้พื้นที่ของพ่อแม่ปู่ย่าตายายมาเป็นอาชีพให้สามารถดำรงชีพได้และต่อยอดไปสู่การพัฒนาในด้านอื่นๆ เช่นการพัฒนาสายพันธุ์ คุณภาพผลผลิตมะขามหวาน ช่องทางการค้าขาย การพัฒนาผลิตภัณท์ ซึ่งเด็กๆที่ได้รับการบ่มเพาะองค์ความรู้ดังกล่าวจะเป็นผู้ที่่่เข้ามาร่วมขับเคลื่อนให้มะขามหวานคงอยู่คู่กับจังหวัดเพชรบูรณ์ตลอดไป เกิดธุรกิจใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับมะขามเพิ่มมากขึ้น