ลำพูน เปิดงานสานศิลป์ ถิ่นเวียงยองโครงการ 1 เมืองท่องเที่ยว 1 ประสบการณ์ท้องถิ่น Lamphun Street Arts บนถนนวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดลำพูน

วันที่ 6 ตุลาคม พ.. 2566 เวลา17.00 . ที่ถนนวัฒนธรรมตำบลเวียงยอง (บริเวณสะพานขัวมุงหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย – วัดต้นแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธานพิธีเปิดงาน สานศิลป์ ถิ่นเวียงยองโครงการ 1 เมืองท่องเที่ยว 1 ประสบการณ์ท้องถิ่น (One Destination , One Local Experience) และโครงการวิจัย “Lamphun Street Arts : การพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนถนนวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดลำพูนโดยมี นายโยธิน ประสงค์ความดี ปลัดจังหวัดลำพูน นายบุญส่ง ไชยมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน รศ.ดร. พระครูสิริสุตานุยุต ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ลำพูน นายจักรกฤษณ์ เอ่งฉ้วน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน นางสาว สิริมาพร รัตนภูมิสิริ ชหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอเมือง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักวิจัย ศิลปินจิตอาสาชมรม ป้ายสี แต้มฝัน ปันจินตนาการนักเรียน ประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในพิธี

นายจักรกฤษณ์ เอ่งฉ้วน ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนถนนวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดลำพูน “Lamphun Street Arts” เป็นโครงการวิจัยของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน ร่วมกับ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน เทศบาลตำบลเวียงยอง ภาคีเครือข่ายต่างๆ และกลุ่มศิลปินจิตอาสาชมรม ป้ายสี แต้มฝัน

ปันจินตนาการโดยมีเป้าหมายในการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนถนนวัฒนธรรมของจังหวัดลำพูน โดยการเชื่อมโยงวิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ตามแผนงานพัฒนาเมืองศิลปะนั้น จะเน้นการเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมและจัดสรรพื้นที่สาธารณะของเมือง เพื่อเป็นเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินและประชาชน เปิดพื้นที่ให้ศิลปินได้แสดงผลงานอย่างอิสระ ได้จำหน่ายผลงานทางศิลปะและสินค้าชุมชน เพื่อสร้างรายได้และสร้างการเรียนรู้ของประชาชน ส่งเสริมให้มีส่วนร่วมของภาคการศึกษา เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศิลปะแก่ประชาชน เด็กและเยาวชน การจัดการพื้นที่ศิลปะ การจัดงานแสดงด้านศิลปะสร้างสรรค์ในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มศิลปิน ชุมชน และภาครัฐ เพื่อไปสู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่จากความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม และระบบบริหารสถานที่ท่องเที่ยว โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยท้องถิ่นสร้างเนื้อหาการท่องเที่ยว ตลอดจนบริหารจัดการเส้นทางและจำนวนนักท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพแหล่งใหม่ที่กระจายนักท่องเที่ยวสู่เมืองรองหรือชุมชนท้องถิ่น อันนำไปสู่เมืองน่าอยู่และน่าเที่ยวไปพร้อมกัน

สำหรับการขับเคลื่อนโครงการวิจัยดังกล่าว ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 โดยดำเนินการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของศิลปะเพื่อเชื่อมโยงวิถีวัฒนธรรมเวียงยอง, การประชาคมชุมชนเวียงยองเพื่อร่วมวางแผนและดำเนินการพัฒนาพื้นที่ศิลปะเชิงสร้างสรรค์, การเสริมสร้างเครือข่ายศิลปิน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคีเครือข่ายในการทำงานร่วมกัน, การพัฒนาพื้นที่ Lamphun Street Arts : การพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนถนนวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเวียงยอง การพัฒนาสินค้าชุมชนเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนเวียงยอง และการเปิดพื้นที่การเรียนรู้และการท่องเที่ยวชุมชน และจากการขับเคลื่อนโครงการวิจัยดังกล่าว ทางสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดลำพูน จึงได้บูรณาการดำเนินโครงการ 1 เมืองท่องเที่ยว 1 ประสบการณ์ท้องถิ่น (One Destination , One Local Experience) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชน โดยได้จัดกิจกรรมเปิดพื้นที่การเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในวันที่ 26,23,29 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาและกิจกรรมการอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ด้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาของการดำเนินงานวิจัยในพื้นที่ตำบลเวียงยอง ได้ติดตามการประชาสัมพันธ์ผ่านระบบออนไลน์ และสอบถามผู้เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการวิจัย “Lamphun Street Arts : การพัฒนาศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนถนนวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดลำพูนและโครงการ 1 เมืองท่องเที่ยว 1 ประสบการณ์ท้องถิ่น (One Destination , One Local Experience) โดยพัฒนาพื้นที่ศิลปะเชิงสร้างสรรค์บนถนนวัฒนธรรมในชุมชน เพื่อพัฒนาและยกระดับกิจกรรมการท่องเที่ยวด้วยการส่งเสริมทุนทางวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว และกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในจังหวัดลำพูน ระหว่างสะพานขัวมุง วัดพระธาตุหริภุญชัย ถึงวัดต้นแก้ว ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ระหว่างวันที่ 20 สิงหาคม ถึง 6 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงวิถีวัฒนธรรมของท้องถิ่นล้านนาจาก วัดสู่ ชุมชนจาก ชุมชนสู่ โรงเรียนสู่ พื้นที่สาธารณะเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนอันจะนำมาสู่การเปิดพื้นที่การท่องเที่ยวชุมชนและการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากแก่ชุมชนในจังหวัดลำพูนต่อไป.

นาย แทน ต่อมาสังข์ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดลำพูน #รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *

You may have missed