สุโขทัย-สช.หนุนเสริมการเพิ่มสมรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง
สช.หนุนเสริมการเพิ่มสมรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง กรณีศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของคนในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยและการประกอบการทองรูปพรรณที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและคนในชุมชน
วันที่ 15-16 พฤษภาคม 2566 ที่โรงแรมศรีสัชนาลัยเฮอริเทจ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการเพิ่มสมรถนะการจัดการสุขภาพชุมชนผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพโดยการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติท่ามกลางความเป็นจริง ครั้งที่ 3 ประเด็นสุขภาพจิตในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย โดยมีนายเตชทัต หอมบุปผา สาธารณสุข อ.ศรีสัชนาลัย กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย 4 อำเภอ คือ อ.ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง กงไกรลาศ ทุ่งเสลี่ยม เครือข่ายการจัดการระบบสุขภาพชุมชน ผ่านกระบวนการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพ (PILA)และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) จำนวน 60 คน
โดยในเวทีมีการชวนคิดชวนคุยภาพรวมการทำงาน การบริหารจัดการระบบสุขภาพชุมชน ประเด็นสุขภาพจิต ถอดบทเรียนด้วยบอดี้เพ้นท์ ที่ได้เรียนรู้จากการอบรมครั้งที่ 2 รวมทั้งถอดบทเรียน กระบวนการพัฒนาคน พัฒนางาน การสร้างทีมเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องไม่ต้องใช้สื่อ เชื่อมโยงการบูรณาการองค์ความรู้ PILA / HIA) การบูรณาการ PILA กับการจัดการสุขภาพชุมชน การประยุกต์ใช้ในชีวิตและการทำงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตอบข้อซักถาม และการเสริมพลัง โดย อ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (ผ่านระบบออนไลน์) การลงพื้นที่กรณีศึกษา พชอ.ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย กขป.เขต2 ผ่านประเด็นเรียนรู้ในพื้นที่ ประเด็นการประกอบการทองรูปพรรณที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและคนในชุมชน และการรับมือ (ถอดบทเรียน กระบวนการพัฒนาคน พัฒนางาน การสร้างทีม เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องไม่ต้องใช้สื่อเชื่อมโยงการบูรณาการองค์ความรู้ PILA / HIA)และร่วมกันสะท้อนคิดจากประเด็นในพื้นที่ด้วยกระบวนการ PILA จากผู้เข้าร่วมอบรมว่า เห็นอะไรจากศรีสัชนาลัย จากการฟังแล้วสะท้อนย้อนดูตัวเอง
ทั้งนี้ ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่าในการจัดอบรมครั้งนี้เป็นการเรียนรู้เพิ่มเติมจากเวทีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เครือข่าย การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพHealth Impact Assessment: HIA ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรเมื่อช่วงต้นเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ในการอบรมครั้งนี้จะเน้นการถอดบทเรียน กระบวนการพัฒนาคน พัฒนางาน การสร้างทีมเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องไม่ต้องใช้สื่อ เชื่อมโยงการบูรณาการองค์ความรู้ PILA / HIA) โดยการใช้กรณีศึกษาปัญหาสุขภาพจิตของคนในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัยที่มีตัวเลขในการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงถึง 20 ต่อแสนประชากรและทุกภาคส่วนในพื้นที่ได้นำหลักการ 3 หมอขับเคลื่อนผ่านกลไก พชอ.และ พชต.จนสามารถผ่านวิกฤติทำให้ลดจำนวนการฆ่าตัวตายลงมาที่ 9 ต่อแสนประชากร รวมทั้งยังมีการเรียนรู้ในพื้นที่ ประเด็นการประกอบการทองรูปพรรณที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานและคนในชุมชน ถอดบทเรียน กระบวนการพัฒนาคน พัฒนางาน การสร้างทีม เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ และร่วมกันสะท้อนคิดจากประเด็นในพื้นที่ด้วย ทั้งนี้ในการดำเนินงานโครงการจะมีการอบรมพัฒนาเครือข่ายในประเด็นต่างๆ ในโอกาสต่อไป