สืบเนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเป็นองค์กรสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามที่พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 โดยบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รวมทั้งจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดชุดแรก โดยการเลือกตั้งดังกล่าวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วนั้น
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของเกษตรกร ในการผลิตและการตลาด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปของสภาเกษตรกรเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับเกษตรกรรมจึงจำเป็นต้องพระราชบัญญัตินี้
สภาเกษตรกร ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจังหวัด
สภาเกษตรกรแห่งชาติมีความสำคัญ คือเป็นเวทีของเกษตรกรที่ได้เลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ ในการสะท้อนปัญหาด้านการเกษตรไปสู่การพิจารณาของรัฐบาล เพื่อกำหนดเป็นนโยบายและแผนในการพัฒนา ส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศ
สภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 100 คน จากผู้แทน 3 ประเภท คือ
สมาชิกประเภทที่ 1 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด จำนวน 77 คน เป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยตำแหน่ง
สมาชิกประเภทที่ 2 ตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านต่างๆ ซึ่งสมาชิกประเภทที่ 1 ได้ร่วมกันเลือกมา จำนวน 16 คน
สมาชิกประเภทที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้าน เกษตรกรรมที่สมาชิกประเภทที่ 1 และสมาชิกประเภทที่ 2 ได้ร่วมกันเลือกมา จำนวน 7 คน
สำหรับสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมาย ซึ่งมีหน้าที่ประสานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเกษตร ทั้งการผลิต แปรรูป ด้านการตลาด ตลอดจนกำหนดแผนพัฒนาเกษตรกรของจังหวัดรวมถึงคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร และแก้ไขปัญหาด้านต่างๆเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทางการเกษตรในระยะ 2 ปี นับแต่พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (19 พฤศจิกายน 2553 ถึง 18 พฤศจิกายน 2555) ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด
สภาเกษตรกรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรและยุวเกษตรกรในจังหวัดในรูปแบบต่างๆเสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและยุว เกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืนเสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมรวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติและให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร
สำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์มีผู้สมัครรับการเลือกตั้งในทุกอำเภอ โดยบางเขตมีการแข่งขันกันอย่างคึกคัก โดยอำเภอที่ไม่มีผู้สมัครลงแข่งกัน คือ อำเภอศรีเทพ ที่มีนายประจวบ นาคเทียน ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อ.ศรีเทพสมัครเพียงคนเดียว ส่วนอำเภออื่นๆมีการแข่งขันในทุกเขต ดังนี้
อำเภอเขาค้อ เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายปรีชา เดชบุญ เบอร์ 2 นายโสภา เปรมโสภณ เบอร์ 3 ว่าที่ รต.วีระชัย ศรีคำวรวัฒน์ เบอร์ 4 นายสุทธิพงศ์ พลสยม
อำเภอวิเชียรบุรี เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายสมประสงค์ อินทะนู เบอร์ 2 นายน้อม สักพุ่ม เขตเลือกตั้งที่ 2 เบอร์ 1 นางสาวฐิติรัตน์ พรมนอก เบอร์ 2 นางสาวอุทัยวรรณ พสุรัตน์
อำเภอบึงสามพัน เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายสำราญ แก่นจันทร์ เบอร์ นายกาจเดชา จงใจพระ
อำเภอน้ำหนาว เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายบุญมี ขวัญหอม เบอร์ 2 กาวี คำสิงห์ เบอร์ 3 นางสาวสัมฤทธิ์ มั่นเมือง
อำเภอชนแดน เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายคณาวุฒิ จิรคเชนทร์ เบอร์ 2 นายบรรหาร บุญเขต เบอร์ 3 นายวิทยา ลิ้มทองไพศาล เบอร์ 4 นายสมศักดิ์ แม้นศรี เบอร์ 5 นายสมาน โกษาจันทร์ เบอร์ 6 นางนุจรีย์ สังข์ทอง
อำเภอวังโป่ง เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายพรชัย พรมภักดี เบอร์ 2 นายบุญชอบ เสือเขียว
อำเภอหล่มเก่า เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายอภิเดช เหง้าสารี เบอร์ 2 นางรงค์ลักษณ์ แก้วอ่อน
เขตเลือกตั้งที่ 2 เบอร์ 1 นายชิราวุธ แป้นสุขา เบอร์ 2 นายพรศักดิ์ กุลเกลี้ยง เบอร์ 3 นายวิชาญ แก้วยม เบอร์ 4 นายจีรศักดิ์ นอกไธสงค์
อำเภอหนองไผ่ เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายอัครวุฒิ ชาญวศิน เบอร์ 2 นายมานพ วุฒิยาลัย เบอร์ 3 นายเฉลัยว อักษรวิลัย
เขตเลือกตั้งที่ 2 เบอร์ 1 นายสุวรรณ จงใจมั่น เบอร์ 2 นายอาทิตย์ กุลทอง เบอร์ 3 นายสิรวิชญ์ มีไพทูล
อำเภอหล่มสัก เขตเลือกตั้งที่ 1 เบอร์ 1 นายยอด อินเทพ เบอร์ 2 นายพูลทรัพย์ พิมพ์สิงห์ เบอร์ 3 นางสาวธันย์รดี มาราช
เขตเลือกตั้งที่2 เบอร์ 1 นายรุจน์ เพชรประทุม เบอร์ 2 นายมเนศ จันดา
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เขตเลือกตั้งที่1 เบอร์ 1 นายมงคล พุฒจันทร์ เบอร์ 2 นายอภิวรรธ ขีดวัน เบอร์ 3 นายวิทูรย์ รำเจริญ เบอร์ 4 นายเทพ เพียมะลัง เบอร์ 5 นายเสถียร เม่นบางผึ้ง
เขตเลือกตั้งที่ 2 เบอร์ 1 นายจรุง เหล็กสีนาค เบอร์ 2 นายสงกา จันแล
สำหรับวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดประเภทผู้แทนเกษตรกร กำหนดให้มีเลือกตั้งในวันอาทิตย์ ที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งที่ท่านมีรายชื่อใกล้บ้าน เลือกได้ 1 เขต 1 เบอร์
Post Views: 4,070